Choijin Lama Temple Museum (Чойжин Ламын Сүм Музей) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่อนุรักษ์ไว้ซึ่ง มรดกทางวัฒนธรรมอันยาวนาน ของโบราณวัตถุและสถานที่ทางพุทธศาสนา ตั้งอยู่ในคอมเพล็กซ์ในบริเวณ วัดชเวจินลามะ (Choijin Lama Temple, Чойжинламынсүм) ซึ่งเป็นชื่อทางการที่กำหนดโดยจักรพรรดิกวังซู (Manchu Qing Emperor Guangxu, ค.ศ. 1871-1908) ถือเป็นสถานที่ซึ่งมีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์อีกหนึ่งแห่ง ซึ่งอยู่ทางใต้ของจตุรัสซุคบาตาร์ (Sukhbaatar Square) ในใจกลางของเมืองอูลานบาตอร์ (Ulaanbaatar) ซึ่งเป็นเป็นเมืองหลวงของประเทศมองโกเลีย

ภายใต้การดำเนินงานของรัฐ ในปี ค.ศ. 1941 ในการอนุรักษ์โบราณวัตถุของ เมืองอูลานบาตอร์ (Ulaanbaatar) รวมทั้งโบราณวัตถุทางพุทธศาสนา จากอารามในชนบท ถูกย้ายมายังวัดแห่งนี้ โดยในปี ค.ศ. 1942 อารามได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการ ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้เข้าชม เฉพาะแขกผู้มีเกียรติพิเศษเท่านั้น ซึ่งต่อมาพิพิธภัณฑ์ได้เปิดบริการ อย่างเป็นทางการแก่สาธารณะชน ในปี ค.ศ. 1962

บริเวณโดยรอบของพิพิธภัณฑ์ ประกอบไปด้วยอารามหลักคือ วัดชเวจินลามะ (Choijin Lama Temple) และวิหารของวัดต่างๆ ที่มีหลังคาที่ได้รับ การตกแต่งอย่างงดงาม รวมไปถึงพุทธสถานที่สำคัญ ได้แก่ กำแพงโล่ (Shield Wall), ห้องโถงสวดมนต์ (Prayer Hall) และรูปปั้นหินปกป้องวิหาร เป็นต้น

วัดชเวจินลามะ

Choijin Lama Temple

Choijin Lama Temple (Чойжинламынсүм) มีชื่อเรียกในภาษามองโกลที่มีความหมายว่า นักพัฒนาของการให้อภัย (The developer of forgiveness, Өршөөлийгхөгжүүлэгчсүм) เคยเป็นวัดในพุทธศาสนา จนกระทั่งถูกปิดในปี ค.ศ. 1937 ซึ่งอยู่ในช่วงที่มีการปราบปรามทางศาสนา ของคอมมิวนิสต์ ภายในวิหารหลักของวัด เป็นที่ประดิษฐาน องค์พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ของพระพุทธเจ้าศากยมุนี ซึ่งถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 18

โดยบริเวณด้านข้างขององค์พระ มีรูปปั้นของพระลามะระดับสูง อยู่สององค์อยู่บนบัลลังก์ โดยรูปปั้นถูกสร้างขึ้นด้วย ประติมากรรมกระดาษอัด (เปเปอร์มาเช่, Paper Mache, Papier-mâché) เป็นงานศิลปะที่ใช้ในการ ประดิษฐ์สิ่งของสำหรับพิธีกรรม ตามขนบธรรมเนียมประเพณีแบบดั้งเดิม ที่ปั้นจากการผสมของ กระดาษบด และดินเหนียว

ที่ด้านซ้ายของคุณเป็นรูปปั้นของ Choijin Lama Luvsankhaidav (Чойжин Ламын Лувсанхайдавын) เจ้าอาวาสวัดซึ่งเป็นน้องชายของ บอกด์ข่านองค์ที่ 8 (Eighth Bogd Khaan) รูปปั้นประติมากรรมกระดาษอัด (เปเปอร์มาเช่, Paper Mache, Papier-mâché) ที่ทำจากส่วนผสมของกระดาษ, ดินเหนียวและเถ้ากระดูก ภายหลังจากที่เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1918

ส่วนทางด้านขวาของคุณ เป็นมัมมี่ของพระลามะธิเบต ซึ่งมีนามว่า Yonzonkhamba Baldanchoimbolyn (Ёнзонхамба Балданчоймболын) เป็นครูของชเวจินลามะ (Choijin Lama) และพระลามะผู้มีอิทธิพลอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อเขาจากไปในปี ค.ศ. 1910 ร่างกายของเขาถูกปกคลุม ด้วยกระดาษและดินเหนียว เพื่อรักษาไว้ในรูปมัมมี่ ส่วนหัวทำด้วยประติมากรรมกระดาษอัด และแกะสลักในส่วนของใบหน้า

บริเวณด้านหน้าเป็นโต๊ะ ซึ่งมีสิ่งของสำหรับ ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของพระ เช่น เครื่องดนตรีที่เป็นฉิ่ง (Selnen) และเครื่องดนตรีลม (Bishguur) ซึ่งถูกใช้สำหรับพิธีกรรมรายวัน รวมไปถึงเครื่องมืออื่นๆ เช่น ระฆัง, กลอง (Damaru Drums) และเครื่องดนตรีลมที่ทำจาก กระดูกต้นขามนุษย์ (Gandan) ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อดึงดูดสิ่งที่เป็นมงคล และขับไล่ความชั่วร้าย

นอกจากนี้ที่อารามแห่งนี้ ยังมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือ ภาพตกแต่งที่ปกคลุมเพดาน รวมไปถึงชุดสำหรับการเต้นรำของจาม (Tsam Dance) เครื่องแต่งกายที่ประกอบไปด้วย หน้ากากที่ทำด้วยทำด้วย ประติมากรรมกระดาษอัด และชุดซึ่งถูกตกแต่งอย่างงดงาม ไปด้วยเสื้อผ้าไหมที่มีสีสัน และเครื่องประดับที่ดูหรูหรา

Choijin Lama Museum

การเต้นรำของจาม (Tsam Dance) หรือ Cham Dance (འཆམ) เป็นการเต้นรำสวมหน้ากาก ที่เกี่ยวข้องกับนิกายต่างๆ ของพระพุทธศาสนาแบบทิเบต (Tibetan Buddhism) และเทศกาลทางพุทธศาสนา การเต้นรำนั้นประกอบไปด้วย ดนตรีที่บรรเลงโดยพระสงฆ์ โดยใช้เครื่องดนตรีทิเบตโบราณ การเต้นรำมักจะสอนเรื่องศีลธรรม ที่เกี่ยวข้องกับความเห็นอกเห็นใจ (Compassion, karuṇā) ต่อสรรพสัตว์และผู้อื่นบนโลกใบนี้

วัดพระพุทธเจ้าศากยมุนี

Zuu Temple

Zuu Temple (Махранз сүм) โดยชื่อของวัดได้มาจากคำในภาษาทิเบตว่า “Jowo” ซึ่งมีความหมายว่า พระพุทธเจ้าศากยมุนี (Buddha Shakyamuni) ภายในอารามมเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งอดีต, ปัจจุบัน และอนาคต สถาปัตยกรรมของวัดแห่งนี้สะท้อนให้เห็นถึง พระพุทธศาสนาแบบทิเบต (Tibetan Buddhism) ที่บนผนังของวัดมีภาพวาด พระพุทธอรหันต์ทั้ง 16 องค์ ซึ่งเชื่อว่าช่วยเผยแพร่พระธรรมคำสอน และการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

วิหารมหาราช

Maharaja Temple

Maharaja Temple (Махаранз сүм) วัดนี้อุทิศให้กับมหาราชาทั้งสี่ ซึ่งเป็นคำสันสกฤต ที่มีความหมายว่าราชาผู้ยิ่งใหญ่ รูปปั้นที่มีสีสันงดงามน่าเกรงขาม จากผลงานประติมากรรมกระดาษอัด (เปเปอร์มาเช่, Paper Mache, Papier-mâché) เป็นรูปปั้นของมหาราชา ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นผู้พิทักษ์รักษาคุ้มครองโลกทั้ง 4 ทิศ (จตุโลกบาล หรือจตุมหาราช) ได้แก่ซึ่งคุณสามารถพบได้ที่ทางเข้า ของวัดขนาดใหญ่ในประเทศมองโกเลีย

Yulkhor Sung (ཡུལ་འཁོར་སྲུང) มาจากคำในภาษาทิเบต ซึ่งหมายถึงผู้พิทักษ์แห่งพื้นที่ (Defender of the Area) หรือในภาษาสันสกฤต คือท้าวธตรฐ (Dhrtarastra) เป็นผู้พิทักษ์ประจำทิศตะวันออก ทำหน้าที่ปกป้องสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ผิวกายเป็นสีขาว และอยู่ในท่าทางที่สงบ ที่แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ สวมชุดเกราะและถือเครื่องดนตรีพิณ เพื่อบรรเลงเพลงป้องกัน ไม่ให้ผู้อื่นได้ยินเสียง ที่เป็นพิษของเขา

Pak Kyepo (འཕགས་སྐྱེས་པོ) มาจากคำในภาษาทิเบต หรือในภาษาสันสกฤต คือท้าววิรุฬหก (Virudhaka) ซึ่งหมายถึงการงอกของเมล็ด เพื่อปกป้องธรรมะและนำไปสู่ การเจริญเติบโตของสรรพสิ่ง เป็นผู้พิทักษ์ประจำทิศตะวันใต้ ผิวกายเป็นสีน้ำเงิน สวมชุดเกราะและถือดาบ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นมาสัมผัส กับผิวที่เป็นพิษของเขา

Chen Mi Zang (སྤྱན་མི་བཟང) มาจากคำในภาษาทิเบต หรือในภาษาสันสกฤต คือท้าววิรูปักษ์ (Virupaksa) ซึ่งหมายถึงการงอกเจริญเติบโตของเมล็ด เป็นผู้พิทักษ์ประจำทิศตะวันตก ผิวกายเป็นสีแดง ถือเจดีย์ทองคำในมือขวา และถืองูอยู่ทางซ้ายมือ เขาจะโบกเจดีย์เพื่อหันเห ความสนใจของผู้อื่น เพื่อป้องกันไปให้มองมายัง ตาที่เป็นพิษของเขา

Namthöse (སྤྱན་མི་བཟང) มาจากคำในภาษาทิเบต หรือในภาษาสันสกฤต คือท้าวกุเวร (Kubera) หรือท้าวเวสสุวรรณ (Vaiśravaṇa) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติที่ก่อให้เกิดโรค เป็นผู้พิทักษ์ประจำทิศเหนือ ผิวกายเป็นสีเหลือง ถือธงชัยชนะไว้ที่มือขวาและพังพอนทรัพย์สมบัติด้านซ้าย เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นได้รับอันตราย จากลมหายใจที่เป็นพิษ เขาจึงปิดปากแน่น

วัดแห่งสันติภาพ

Temple of Peace

Temple of Peace (Амгалангийн сүм) วิหารแห่งนี้ได้รับการตั้งชื่อ โดยจักรพรรดิแมนจูเรีย แต่พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ ถือว่าเป็นโบสถ์ศักดิ์สิทธิ์ (Consecration Temple, Өргөлийн сүм) เพื่อสื่อความหมายถึง สิ่งสูงสุดของพุทธศาสนา คือ การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า หลังคาของวิหาร มีรูปทรงโค้งมนแปดเหลี่ยม เหมือนบ้านของชาวมองโกล ที่เรียกว่าเกอร์ (ger) ผนังวิหารถูกออกแบบอย่างประณีต เพื่อสื่อถึงสวรรค์ และทุ่งหญ้าของโลก โดยภายในวิหารเป็นที่ ประดิษฐานของพระพุทธทองสัมฤทธิ์ ที่มีความงดงามอย่างเป็นเอกลักษณ์ยิ่ง

วิหารยาดัม

Yadam Temple

Yadam Temple (Ядам сүмийг) วิหารถูกแยกเป็นอิสระจากสถานที่อื่นภายในวัด เพื่อเป็นสถานที่สำหรับสวดมนต์ และนั่งสมาธิของ Choijin Lama Luvsankhaidav (Чойжин Ламын Лувсанхайдавын) ภายในของวิหารเป็นที่ประดิษฐานของ รูปปั้นทองสำริดของหนึ่งใน 84 โยคีอินเดีย นอกจากนี้ยังมีภาพเทพต่างๆ ในท่านั่งสมาธิ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพลังและความแข็งแกร่ง

กำแพงโล่

Shield Wall

Shield Wall (Халх хаалга) เป็นกำแพงสูงเก้าเมตร และกว้างสิบหกเมตร ทำหน้าที่ในการปกป้องอาราม จากอันตราย, อุปสรรค และพลังงาน ที่ชั่วร้ายจากทุกทิศทาง กำแพงซึ่งความเฉพาะของศิลปะการตกแต่งที่งดงาม มักถูกสร้างขึ้นในวัดที่สำคัญ ในสมัยราชวงศ์ชิง ในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 20 และอยู่ภายใต้การคุ้มครอง ของจักรพรรดิชิง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการแสดง อำนาจและศักดิ์ศรีของกษัตริย์

ห้องโถงสวดมนต์

Choijin Lama Museum

Prayer Hall (Залбирлын танхим) ห้องโถงที่ถูกออกแบบให้อยู่ใน บ้านของชาวมองโกล มีเอกลักษณ์ด้วยเป็น สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย ของชนเร่ร่อนในเอเชียกลาง และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อของ เกอร์ (ger) ซึ่งเป็นเต็นท์แบบพกพา ที่มีโครงสร้างประกอบด้วย ส่วนของไม้หรือไม้ไผ่ เพื่อทำเป็นโครงผนัง, กรอบประตู และเสาค้ำยัน โดยถูกปกคลุมไปด้วยหนัง เพื่อควบคุมอุณหภูมิที่ เหมาะสำหรับการอยู่อาศัย

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จึงเป็นสถานที่ซึ่งบอกเล่า เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ที่แสดงให้เห็นถึงการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา ในประเทศมองโกเลีย หลังจากการปราบปรามของคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะการจัดแสดงเกี่ยวกับ การเต้นรำจามพุทธศาสนา และการอนุรักษ์ฟื้นฟูศาสนา เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ต่อลูกหลานสืบต่อไป

เมืองอูลานบาตอร์

Ulaanbaatar

Ulaanbaatar (Улаанбаатар) เป็นเมืองที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1639 ในฐานะศูนย์กลางของ วัดทางศาสนาพุทธ เมืองตั้งรกรากอย่างถาวร ในที่ตั้งเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ทางตะวันออกของศูนย์กลาง ของประเทศมองโกเลีย บนแม่น้ำทูอูล (Tuul River, Туул гол, Tūl gol) ซึ่งเป็นแม่น้ำที่แตกสาขา มาจากแม่น้ำเซเล็นจ (Selenge River) ในหุบเขาที่เชิงของ ภูเขาบอกด์ข่าน (Bogd Khan Mountain, Bogd Khan Uul) เป็นภูเขาที่กว้างใหญ่และป่าหนาทึบ เมื่อเป็นอิสระในปี ค.ศ. 1911 เมืองถูกเปลี่ยนชื่อเป็น NiĭslelKhüree (НийслэлХүрээ) ซึ่งหมายถึง เมืองหลวงแห่งเต็นท์ (Capital Camp) เมื่อเมืองกลายเป็นเมืองหลวง ของสาธารณรัฐประชาชนมองโกเลียใหม่ ในปี ค.ศ. 1924 ชื่อของมันก็เปลี่ยนเป็น เมืองอูลานบาตอร์ (Ulaanbaatar, Улаанбаатар) ซึ่งหมายถึง วีรบุรุษแดง (Red Hero) โดยในปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของประเทศมองโกเลีย (Mongolia) อ่านเพิ่มเติม

Choijin Lama Museum

Choijin Lama Museum

ที่อยู่ Mongolia, Ulaanbaatar, Sukhbaatar district, first khoroo, Genden street (Монгол улс, Улаанбаатар хот, Сүхбаатар дүүрэг, нэгдүгээр хороо, Гэндэнгийн гудамж)

ข้อมูลเพิ่มเติม

Mongolian Tourist Hotline: +976 1900 1932

ติดต่อสอบถาม +976-1132478, +976-11328547

website: templemuseum.mn (ภาษามองโกล, อังกฤษ)

เวลาทำการ  10:00-16:30 น.

ค่าเข้าชม 8,000 MNT

* หากต้องการถ่ายรูปภายในวิหารหรืออาราม ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มคนละ 50,000 MNT

การเดินทาง

รายละเอียด บัตรโดยสาร U Money และระบบขนส่งสาธารณะ ในอูลานบาตอร์ (U Money and Public Transport in Ulaanbaatar)

วิธีการเดินทางจากสนามบิน ถึงเมืองอูลานบาตอร์ (How to get from airport to Ulaanbaatar city)

เส้นทางรถประจำทางหมายเลข 7 จากสนามบิน ไปเมืองอูลานบาตอร์ (Bus Route Ч-7 from Airport to Ulaanbaatar City)

เส้นทางรถประจำทางหมายเลข 7 จากเมืองอูลานบาตอร์ ไปสนามบิน (Bus Route Ч-7 from Ulaanbaatar City to Airport)


ใช้รถบัสประจำทาง Bus No. 18Б, 34, 50, 52, 53, 55, 58, 7, 8 หรือรถโทรลลี่ย์บัส (Trolleybus) T-3 และลงที่ป้ายจอด Bus stop Central State Library (Улсын төв номын сан) จากนั้นเดินย้อนกลับไปประมาณ 100 เมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนน Jamyan St. และเดินตรงไประยะทางประมาณ 180 เมตร และเลี้ยวขวาแยกที่สอง คุณจะเห็นสถานที่อยู่ด้านขวามือของคุณ

* ป้ายหน้ารถเมล์เขียนเป็นภาษามองโกเลียว่า Ч-18Б, Ч-34, Ч-50, Ч-52, Ч-53, Ч-55, Ч-58, Ч-7, Ч-8

ควรใช้ google Map เพื่อติดตามการเดินทางของคุณ เนื่องจากไม่มีข้อมูลภาษาอังกฤษ และเมื่อขึ้นรถบัสผิด ให้ลงที่ป้ายถัดไป ก่อนลงจากรถอย่าลืมแตะบัตรยูมันนี่ (U Money)  เพื่อใช้ Free Transiting ของคุณภายใน 30 นาที

by Google Map

Choijin Lama Museum (Чойжин Ламын Сүм Музей)