กำแพงเมืองโซล (Seoul City Wall – Fortress Wall of Seoul)

กำแพงเมืองโซล (Seoul City Wall – Fortress Wall of Seoul)

กำแพงแห่งนี้มีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า ฮันยางโดซอง (Hanyangdoseong, 한양도성) ซึ่งหมายถึง ป้อมปราการแห่งเมืองฮันยาง ถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงขอบเขต และปกป้องเมืองฮันยาง (Hanyang, 한양) ซึ่งในเวลานั้นมันถูกเรียกว่า เมืองฮันซอง (Hanseong, 한성) โดยในปัจจุบันคือ กรุงโซล (Seoul) ซึ่งเป็นเมืองในพื้นที่ ของจังหวัดคยองกี (คยองกีโด, Gyeonggi-do) ในประเทศเกาหลีใต้

ใน ปี ค.ศ. 1394 ซึ่งเป็นรัชสมัยในการปกครองของ กษัตริย์แทโจ (Taejo of Joseon, 태조; ค.ศ. 1335 – ค.ศ. 1408) ผู้ก่อตั้งและปฐมบรมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์โชซอน (Joseon Dynasty) ได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองแคซอง (Gaeseong, 개성) ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์โครยอ (Goryeo Dynasty) มายังเมืองฮันยาง หรือเมืองฮันซอง (Hanseong, 한성) พร้อมกับสร้างสถานที่ต่างๆ ในเมืองหลวงแห่งใหม่ ได้แก่ พระราชวังหลวงทั้งห้าแห่งกรุงโซล (Seoul) (Five Grand Palaces of Seoul), ศาลเจ้าชงมโย (Jongmyo Shrine) และแท่นบูชาซาจิก (Sajik Altar) หรือซาจิกดัน (Sajikdan, 사직단) ซึ่งเป็นแท่นบูชาที่สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์โชซอน เพื่อใช้ในการสวดมนต์สำหรับบูชาเทพเจ้า

โดยในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1396 ซึ่งเป็นปีที่ 5 ในรัชสมัยของ กษัตริย์แทโจ (Taejo of Joseon, 태조; ค.ศ. 1335 – ค.ศ. 1408) ได้มีการสร้างกำแพงเมือง โดยการระดมพลเมืองจำนวน 118,070 คนจากทั่วประเทศ ในอดีตกำแพงประกอบไปด้วยแปดประตูหลัก ที่ถูกสร้างขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1396 ค.ศ. 1398 ซึ่งในปัจจุบันคงเหลือเพียงหกประตูเท่านั้น กำแพงเมืองแห่งนี้มีความสูงเฉลี่ย 7 เมตร ถึง 8 เมตร และมีความยาวกว่า 18.6 กิโลเมตร ทอดยาวไปตามแนวของภูเขาทั้ง 4 แห่ง ของกรุงโซล (Seoul) ได้แก่ ภูเขานัมซาน (Namsan Mountain), ภูเขาบุกฮันซาน (Bukhansan Mountain), ภูเขานักซาน (Naksan Mountain) และภูเขาอินวังซาน (Inwangsan Mountain)

ในปี ค.ศ. 1421 ซึ่งเป็นปีที่ 3 ในรัชสมัยของการครองราชย์ โดย กษัตริย์เซจงมหาราช (Sejong the Great) กำแพงเมืองถูกฟื้นฟูบูรณะ และแทนที่ส่วนกำแพงดินด้วยกำแพงหิน โดยการระดมกำลังประชาชนกว่า 320,000 คน จากทั่วประเทศ เพื่อซ่อมแซมกำแพงเมือง กษัตริย์เซจงมหาราช (Sejong the Great, 세종대왕; 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1397 – 8 เมษายน ค.ศ. 1450) เป็นกษัตริย์องค์ที่สี่ ของราชวงศ์โชซอนแห่งเกาหลี ทรงเป็นที่รู้จักในการที่ทรงประดิษฐ์อักษรเกาหลี ฮันกึล และทรงเป็นหนึ่งในสองกษัตริย์เกาหลี ที่ได้รับสมัญญาว่าเป็นมหาราช และทรงเป็นกษัตริย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของเกาหลี

โดยการบูรณะกำแพงพร้อมกับ การสร้างประตูน้ำสองแห่ง ได้แก่ ประตูน้ำอีกันซูมุน (Igansumun Floodgate, 이간수문) และประตูระบายน้ำโอกันซูมุน (Ogansumun Floodgate, 오간수문) ในบริเวณใกล้กับย่านทงแดมุน (Dongdaemun) เพื่อการไหลที่ราบรื่น ของคลองชองกเยชอน (Cheonggyecheon Stream) ต่อมากำแพงพังถูกทำลายเสียหาย จากการรุกรานเกาหลี ของญี่ปุ่น ในระหว่างปี ค.ศ. 1592 – ค.ศ. 1598 กำแพงเมืองถูกสร้างขึ้นใหม่ ในปี ค.ศ. 1704 ซึ่งเป็นปีที่ 30 ในรัชสมัยของ กษัตริย์ซุกจงแห่งโชซอน (Sukjong of Joseon, 숙종; ค.ศ. 1661 – ค.ศ. 1720)

งานซ่อมแซมกำแพงครั้งนี้ มีการใช้ก้อนหินรูปสี่เหลี่ยมขนาด 30 – 45 เซนติเมตร เพื่อความแข็งแรงของกำแพง ซึ่งใช้ระยะเวลากว่า 5 ปี โดยกำลังพลจากกองทัพ ของหน่วยทหารทั้งห้า ที่รับผิดชอบการปกป้องเมืองหลวง ซึ่งต่อมากำแพงเมือง ถูกทำลายเสียหายอีกครั้ง จากโครงการพัฒนาและวางผังเมือง ในช่วงการปกครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น ในระหว่างปี ค.ศ. 1910 – ค.ศ. 1945

ในปี ค.ศ. 1963 ในส่วนของกำแพงเมือง ซึ่งมีความยาวกว่า 12 กิโลเมตร หรือกว่า 70% ของกำแพงเมืองเดิมยังคงอยู่ และถูกกำหนดให้เป็นโบราณสถานหมายเลข 10 โดยทำการบูรณะและเก็บอนุรักษ์ไว้ ซึ่งสภาพดั้งเดิมอย่างดีที่สุด รวมทั้งเปิดให้บริการการท่องเที่ยว ตามรอยเส้นทางฮันยางโดซอง (Hanyangdoseong, 한양도성) ในปี ค.ศ. 2011 กำแพงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น กำแพงเมืองโซล (Seoul City Wall) ซึ่งในภาษาเกาหลี เรียกว่า ซออูลซองกวัก (Seoul Seong-gwag, 서울성곽) และกลายเป็นหนึ่งในสถานที่ที่สวยที่สุด ซึ่งคุณสามารถทิวทัศน์ของทิวเขา และเมืองที่สวยงามทั้งในยามกลางวัน และในยามค่ำคืน ของกรุงโซล (Seoul) (Seoul)

กำแพงป้อมเมืองโซล จึงเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งเปิดโอกาสให้คุณ ได้สัมผัสเรื่องราวตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันของกรุงโซล (Seoul) ไปพร้อมๆ กับการพักผ่อนหย่อนใจ ด้วยทัศนียภาพความสวยงามอย่างลงตัว ระหว่างความเป็นเมืองและธรรมชาติ ทั้งในยามกลางวันและในยามกลางคืน อีกทั้งยังมีความแตกต่างกันไป ในแต่ละฤดูกาลอีกด้วย กำแพงเมืองโซล (Seoul City Wall) ซึ่งทอดตัวไปตามแนวสันเขา ของภูเขาทั้งสี่ของกรุงโซล (Seoul) โดยมีรายละเอียดดังนี้

ภูเขาบุกฮันซาน

Bukhansan Mountain (북한산) ซึ่งหมายถึง ภูเขาทางตอนเหนือ ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของภูเขา ที่อยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำฮัน (Hangang River) เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติบุกฮันซาน (Bukhansan National Park) และกำแพงป้อมปราการบุกฮันซานซอง (Bukhansanseong Fortress) โดยในอดีตเป็นเพียงป้อมปราการที่ทำจากดิน และถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 132 ต่อมาในปี ค.ศ. 1711 ได้ทำการฟื้นฟูและสร้างป้อมปราการ โดยสร้างเป็นป้อมปราการกำแพงหิน เพื่อทำหน้าที่เป็นพระราชวัง สำหรับการพำนักของกษัตริย์ในยามฉุกเฉิน อ่านเพิ่มเติม

ภูเขานัมซาน

Namsan Mountain (남산) เป็นภูเขาซึ่งอยู่ทางใต้ของเมืองฮันยาง หรือเมืองฮันซอง (Hanseong, 한성) โดยในปัจจุบันยังคงเหลือร่องรอยบางส่วน ของกำแพงเมือง และสถานที่สำคัญทางประวัติ ในบริเวณโดยรอบของ อุทยานนัมซาน (Namsan Park) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของภูเขาแห่งนี้ ถึงแม้ว่าบางส่วนของกำแพงเมือง จะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ แต่ เส้นทางกำแพงเมืองโซลภูเขานัมซาน (Namsan Mountain Seoul City Wall Trail) ก็ยังนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเส้นทางยอดนิยม เพราะนอกเหนือไปจากการเป็นส่วนหนึ่ง ของกำแพงเมืองโซลแล้ว ภูเขาแห่งนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งให้ประสบการณ์ที่หลากหลาย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสถานที่สำคัญอย่าง หอคอยเอ็นโซล (N Seoul Tower) ซึ่งถือได้ว่าเป็นแลนด์มาร์ค และเป็นอีกสัญลักษณ์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง ของกรุงโซล (Seoul) ซึ่งนักท่องเที่ยวแทบทุกคนต้องมาเยือน อ่านเพิ่มเติม

ภูเขานักซาน

Naksan Mountain (낙 산) เป็นภูเขาที่เกิดจากการแข็งตัวของหินแกรนิต ซึ่งมีความสูง 125 เมตร (410 ฟุต) และได้รับการขนานนามว่า เป็นหนึ่งในห้าทิวทัศน์อันงดงาม ในสมัยราชวงศ์โชซอน (Joseon Dynasty) ด้วยลักษณะของภูเขาที่มีรูปร่าง คล้ายกับโหนกของอูฐ จึงเป็นรู้จักกันในอีกชื่อว่า นักทาซาน (Naktasan, Mount Camel, 낙타산) ซึ่งในภาษาเกาหลี คำว่า “นักทา (Nakta, 낙타)” หมายถึงอูฐ และคำว่า “ซาน (San, 산)” หมายถึงภูเขา

คุณสามารถมาเยือนยังกำแพงป้อมปราการเมืองโซล ที่อยู่บนยอดภูเขานักซาน (Naksan Mountain) อันเป็นจุดชมวิวที่ดีที่สุด ในการชมทัศนียภาพแบบ 360 องศา ทั้งในยามกลางวันและในยามค่ำคืน ของภูเขาที่สวยงามที่รายล้อมรอบเมือง อ่านเพิ่มเติม

เส้นทางกำแพงเมืองโซล (Seoul City Wall Trail)

เส้นทางยอดนิยมของการเดินท่องเที่ยว กำแพงเมืองโซล (Seoul City Wall Trail) ในกรุงโซล (Seoul) ประกอบไปด้วยหลายเส้นทาง และมีระดับความยากง่ายในการเข้าถึง, สถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย รวมทั้งระยะเวลาในการท่องเที่ยว ที่แตกต่างกันไปในแต่ละเส้นทาง  อ่านเพิ่มเติม